บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2
วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน 2558 เวลา 13.30-17.30 น.
กิจกรรมการเรียนการสอน
- ปั๊มใบเข้าเรียน และวันนี้ได้รางวัลเด็กดี 2 ช่อง เพราะหลังจากเลิกเรียน อาสาช่วยอาจารย์ถืออุปกรณ์การเรียนการสอนไปเก็บที่ห้อง- ในขณะที่เพื่อนเพิ่มลิงก์บล็อกให้อาจารย์ คนอื่น ๆ ก็ทำป้ายชื่อของตนเอง เพื่อให้สะดวกต่อการเรียนการสอนมากขึ้น หลังจากนั้น อาจารย์ก็ตรวจสอบความเรียบร้อยลิงก์ของทุกคน และให้คะแนนการทำบล็อก
- กิจกรรมต่อมา คือการทบทวนเพลงต่าง ๆ ที่ได้ฝึกร้องเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยยืนเป็นวงกลม และร้องเพลง ทำท่าทางประกอบเพลง เป็นคู่ ๆ หมุนเวียนกัน จนครบทุกคน
- ต่อมา อาจารย์ก็สอนเนื้อหาด้านวิชาการเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย และมีกิจกรรมที่ทำให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น เป็นการฝึกทักษะทางปัญญา
- จากนั้น อาจารย์ก็ให้วาดภาพสิ่งที่ตนเองชอบ หรือรักมากที่สุด จากสีเทียน สมมติบทบาทว่าตนเองเป็นเด็กปฐมวัย และสลับให้เพื่อนเป็นคุณครู ที่เขียนเหตุผลว่าทำไมชอบสิ่งนี้ให้กับเด็ก ซึ่งผลงานของดิฉันนั้น เป็นชุดเอี๊ยมสีน้ำเงิน เพราะดิฉันชอบใส่ชุดเอี๊ยมมากที่สุด
- เมื่อแต่ละคน มีผลงานของตนเอง อาจารย์จึงให้ตัวแทนนักศึกษา ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน เพื่อเล่าความเป็นมา หรือแชร์ประสบการณ์ให้เพื่อน ๆ ได้ฟังกัน กิจกรรมนี้ทำให้มีเสียงหัวเราะ และความสนุกสนาน เพราะเพื่อนแต่ละคนก็มีเรื่องราวที่นำมาเล่าแตกต่างกันไป หลากหลายความชื่นชอบ
- กิจกรรมทุกครั้งก่อนเลิกเรียน คือการร้องเพลงจำนวน 5 เพลง ประกอบด้วยเพลงตาดูหูฟัง เพลงจ้ำจี้ดอกไม้ เพลงดอกไม้ เพลงนกเขาขัน และเพลงกินผักกัน จากนั้นก็เช็คชื่อก่อนที่จะเลิกเรียน
ความรู้ที่ได้รับ
- ได้ฝึกทักษะทางปัญญา ไหวพริบปฏิภาณในการคิด การแก้ปัญหา
- ได้รู้จักการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น จากการทำกิจกรรมต่าง ๆ เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
- ทำให้รู้ความหมายของภาษา ความสำคัญของภาษา ทักษะทางภาษา องค์ประกอบของภาษา รวมถึงการรู้จักสื่อสารให้ได้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มีความเข้าใจระหว่างกัน
- ทำให้ได้ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย ซึ่งมีความแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงวัย
- ได้รู้ถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- เมื่อมีความรู้ ความเข้าใจกับกับการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยมากขึ้น ก็จะทำให้สามารถจัดประสบการณ์ได้ตรงตามความเหมาะสมของเด็กแต่ละช่วงวัย เพื่อให้การเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- สามารถนำเพลงที่ได้ฝึกร้อง พร้อมท่าทางประกอบ ไปสอนเด็กปฐมวัย เพื่อเป็นการส่งเสริมทักษะทางภาษา และการทำกิจกรรมร่วมกันของเด็ก
การประเมินผล
ประเมินตนเอง ตนเองมีความตั้งใจในการเรียน และการทำกิจกรรมต่าง ๆ อาจจะมีเล่นบ้าง แต่ก็พยายามดึงตนเองกลับมา เพราะทุกกิจกรรมมีความน่าสนใจ จึงทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อ สนุกสนาน ไม่เครียดประเมินเพื่อน เพื่อนทุกคน ตั้งใจเรียน และทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสนุกสนาน ได้ช่วยกันระดมความคิด แชร์ประสบการณ์ที่แปลกใหม่ สามารถเรียกเสียงหัวเราะจากอาจารย์ และเพื่อน ๆ ได้
ประเมินอาจารย์ อาจารย์มีการเตรียมการสอนมาอย่างดี ทำให้การเรียนทั้งด้านวิชาการ และกิจกรรมต่าง ๆ มีความต่อเนื่อง ดึงดูดความสนใจของนักศึกษา รวมทั้งให้คำแนะนำต่าง ๆ ที่นักศึกษาสงสัย ได้เป็นอย่างดี จึงทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่น่าเบื่อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น