พุยพุย

วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วันพุธที่ 2 ธันวาคม 2558 เวลา 12.00-15.00 น.
ความรู้ที่ได้รับ


  • วันนี้ เป็นวันที่อาจารย์นัดสอบร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย (จำนวน 23 เพลง) เมื่อเพื่อน ๆ มาครบทุกคน ก็เริ่มโดยการจับฉลาก ว่าใครจะได้ร้องเพลงอะไร (แต่ละคนตื่นเต้นมาก >,<) ในฉลากชื่อเพลง จะมีเนื้อร้องให้ดูคร่าว ๆ แต่ถ้าเริ่มร้อง ต้องห้ามดูเนื้อเพลง มิฉะนั้นจะถูกหักคะแนนลงไปตามลำดับ มาดูกันค่ะ ว่าเพื่อน ๆ แต่ละคน ตั้งใจ และเตรียมความพร้อมมาดีขนาดไหน !!!

เพื่อนบางคนมีท่าทางประกอบด้วย ไม่ธรรมดาจริง ๆ >///< 
แต่ละคนเตรียมความพร้อมมาดีมาก ส่วนมากก็ร้องได้คะแนนเต็มกันเกือบทุกคน


คนให้กำลังใจเพื่อนก็ลุ้นยิ่งกว่าคนกำลังร้องอีกค่ะ สนุกสนานจริง ๆ ฮ่า ๆๆ


มีคลิปวิดิโอตอนตัวเองสอบร้องเพลง (เพลง นม) มาให้ดูกันค่ะ 
ตื่นเต้นมาก ขอบคุณเพื่อนที่ถ่ายไว้ให้นะคะ ฮ่า ๆๆ

  •  จากนั้น อาจารย์ก็มีรางวัลเด็กดีมาแจกให้นักศึกษา สำหรับคนที่สะสมการเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอและดาวเด็กดี ได้มากที่สุด แล้วเรียงลงมาเป็นลำดับ





เย่ ๆๆ ดีใจที่สุดเลย ได้รางวัลเด็กดี อันดับ 1 ด้วย 
ถึงจะเป็นของเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ก็ดีใจมาก ที่ครูอุตส่าห์ซื้อมาให้เป็นรางวัล 
และเป็นกำลังใจในการตั้งใจเรียนต่อไปด้วยค่ะ (จะเก็บไว้อย่างดีเลย อิ้อิ้)


เพื่อนคนอื่น ๆ ก็ได้รางวัลด้วยนะคะ ลุ้นแทนเลยค่ะ ฮ่า ๆๆ
ถ่ายรูปร่วมกันซะหน่อย 1 2 3 เย่ !!!


  • ยังมีงานอีก 1 ชิ้น สำหรับปลายภาคนี้ คือ การทำแผ่นชาร์ตเพลง สำหรับเด็กปฐมวัย ส่วนไม้ชี้ (หนูแถมให้ค่ะ ฮ่า ๆๆ) 



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • เมื่อมีความรู้ ความสามารถในการร้องเพลงได้มากขึ้น ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเด็กปฐมวัย เพราะการร้องเพลงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้เด็กเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ พร้อมทั้งยังมีส่วนส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ ได้มากมาย
  • การทำแผ่นชาร์ตเพลง เป็นสิ่งที่ต้องได้ทำในอนาคต เมื่อไปสอนเด็กจริง ๆ การฝึกฝนตั้งแต่ตอนนี้ สามารถทำให้เรารู้ข้อบกพร่อง และในการทำครั้งต่อ ๆ ไป ก็จะทำให้เกิดทักษะที่ดียิ่งขึ้น
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : มีการเตรียมความพร้อมเพื่อมาสอบอย่างเต็มที่ ทำให้ทุกอย่างสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และช่วยเหลือเพื่อนด้วย หากเพื่อนถาม หรือจำเนื้อเพลงไม่ได้
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ทุกคนน่ารักมาก เตรียมความพร้อมมาดี ช่วยเหลือกันเมื่อเพื่อนจำเนื้อเพลงไม่ได้ แต่ละก็มีสไตล์การร้องที่แตกต่าง ทำให้น่าสนใจ และบรรยากาศการสอบก็สนุกสนาน ไม่เครียด
ประเมินอาจารย์ : ประทับใจอาจารย์มาก มีความสุขทุกครั้งที่ได้เรียนกับอาจารย์ อาจารย์ใจดี มีเมตตา และให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาตลอดมา ไม่ว่าจะเรื่องวิชาการหรือทักษะการใช้ชีวิตก็ตาม






วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13.30-17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
  • วันนี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของการเรียนวิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ก่อนจะรวบรวมแผ่นปั๊มเข้าเรียนส่งอาจารย์ ก็ถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก 

  • กิจกรรมวันนี้ อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มที่ทำงานเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน และแสดงบทบาทสมมติเป็นครู เป็นเด็กปฐมวัย มาดูบรรยากาศในห้องเรียนกัน !!!


  • นี่คือผลงานของกลุ่มนะคะ
  • กิจกรรมต่อมา คือ การเข้าสู่เนื้อหาเกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษา 
อาจารย์นำตัวอย่างการจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนอนุบาลมาให้ดูเป็นตัวอย่าง 
ให้ได้เรียนรู้ ซึ่งได้เห็นความแปลกใหม่ ความหลากหลายซึ่งแต่ละที่ ไม่เหมือนกัน
สรุปความรู้ที่ได้ ดังนี้

-  โรงเรียนทุ่งมหาเมฆ จะมีการสอนแบบวอลดอร์ฟ เน้นธรรมชาติ การจัดสภาพแวดล้อม          ที่ใช้ไม้ต่าง ๆ
-  โรงเรียนเกษมพิทยา จะเน้นการสอนแบบภาษาธรรมชาติ เป็นตัวหนังสือที่มีความหมายกับเด็ก และให้เด็กได้เห็น ได้เรียนรู้จากของจริง
-  ข้อตกลงในการเล่น จะต้องมาจากการระดมความคิดระหว่างครูกับเด็กด้วย
-  การจัดมุมหนังสือ สำหรับเด็กเล็ก จะต้องใส่ป้ายหรือชื่อเรื่องกำกับไว้ด้วย สำหรับเด็กโต ไม่จำเป็นต้องใส่ก็ได้ 
-  บอร์ดสมาชิกในห้องเรียน นอกจากจะมีรูปและชื่อแล้ว ควรมีคำบรรยายเกี่ยวกับเด็ก หรือคุณครูด้วย เพื่อให้มีความน่าสนใจ และรู้จักตัวตนแต่ละคนมากขึ้น
-  ผลงานต่าง ๆ ที่เด็กทำ ไม่ควรเก็บไว้ ควรนำมาใช้ หรือตกแต่งห้องเรียนก็ได้
-  การเรียนรู้ได้ผลดีมากที่สุดตั้งแต่แรกเกิด และจะเริ่มหยุดเมื่ออายุ 7 ปี 

นอกจากนี้ ยังมีวีดิโอการสังเกต การเรียนการสอน ของโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศน์ 
ที่พี่ปี 4 เอกการศึกษาปฐมวัย จัดทำขึ้นด้วย
วีดิโอนี้ ทำให้ได้เห็นกิจกรรมการเรียนการสอน ที่มีความหลากหลาย 
ส่งเสริมพัฒนาการการเรียนรู้ให้กับเด็กอย่างรอบด้าน บรรยากาศน่าเรียน 
และทำให้เห็นศักยภาพของรุ่นพี่แต่ละคนอีกด้วย 
  • กิจกรรมของโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศน์ มีดังนี้ กิจกรรมกลางแจ้ง, เสริมประสบการณ์การทำอาหาร, การเคลื่อนไหว, วิทยาศาสตร์, ศิลปะ, English โปรแกรม เป็นต้น
  • ต่อมา อาจารย์ก็พาทำสมาธิ ก่อนที่จะเรียนเนื้อหาต่อไป ซึ่งสามารถนำมาใช้ก่อนอ่านหนังสือสอบ หรือทำอะไรที่ต้องใช้สมาธิมาก ๆ 
  • เนื้อหาต่อมา คือ การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย ซึ่งอาจารย์ได้อธิบายและให้คำแนะนำในการเขียนแผนที่เข้าใจง่าย ชัดเจน ครบถ้วน



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • เมื่อมีความรู้ ได้เห็นความหลากหลายในการจัดสภาพแวดล้อมสำหรับเด็กปฐมวัยมากขึ้น ก็ทำให้เกิดไอเดียดี ๆ ที่แปลกใหม่ จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอนาคตได้ เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • มีความรู้ความเข้าใจในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งนำมาใช้ในการเรียน และการทำงานในอนาคตได้
  • นำการฝึกสมาธิที่อาจารย์พาทำ ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เมื่อต้องการฝึกสมาธิ หรือการมีสมาธิในการทำกิจกรรมอื่น ๆ
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : มีความตั้งใจในการเรียน ให้ความร่วมมือกับเพื่อน ๆ การฝึกสมาธิบางอย่าง ยังทำได้ไม่ดีนัก ต้องฝึกทำบ่อย ๆ 
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีผลงานที่สวยงามนำมาเสนอหน้าชั้นเรียน สนุกสนานเฮฮา
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมการสอนมาดีมาก ทำให้นักศึกษามีความสุข สนุกไปกับการเรียน ถึงจะเป็นเนื้อหาวิชาการ แต่ก็ไม่มีความน่าเบื่อ เพราะอาจารย์สอดแทรกกิจกรรมให้นักศึกษาได้ทำอย่างสม่ำเสมอ 





วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13.30-17.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ

  • เมื่อเข้าเรียนทุกครั้งจะต้องมีการปั๊มตุ๊กตา เพื่อให้ทราบว่ามาเข้าเรียนตรงเวลา จากนั้นอาจารย์ก็นำหนังสือการคัดลายมือสำหรับครู มาให้ดูเป็นแบบอย่าง ซึ่งในอนาคตนั้น การเป็นครู จะต้องได้เขียน ได้คัดลายมืออยู่ตลอด ถ้าหากเรามีพื้นฐานก็เป็นสิ่งที่ไม่ยาก บางโรงเรียนจะเคร่งครัดเรื่องลายมือของครูมาก อาจารย์จึงได้มาบอกเล่า แนะนำให้ฟัง เพื่อรอเพื่อน ๆ เข้าห้องเรียนให้ครบ
  • เมื่อเพื่อน ๆ เข้าห้องเรียนครบแล้ว กิจกรรมที่จะได้ทำในวันนี้ คือ ปริศนา อะไรเอ่ย ? โดยที่อาจารย์มีแบบอย่างที่อาจารย์และรุ่นพี่ทำมาให้ดู
  • จากนั้น แต่ละกลุ่มก็เริ่มปรึกษากัน ว่าจะเอาปริศนาอะไร โดยที่อาจารย์ให้คิด คำเฉลย ก่อน แล้วค่อยคิดเนื้อหาของเรื่อง กลุ่มของฉัน ใช้ชื่อเรื่องว่า "ดึ๋งดึ๋งคืออะไร" ซึ่งคำเฉลยก็คือ "จิงโจ้" เมื่อทุกคนในกลุ่มช่วยกันคิดส่วนประกอบต่าง ๆ ของจิงโจ้ เพื่อนำมาแต่งเรื่อง เป็นคำปริศนาให้เด็กทายเสร็จเรียบร้อยแล้ว อาจารย์ก็มาตรวจทานก่อนที่จะลงมือทำ
  • เมื่อเนื้อเรื่องสมบูรณ์แล้ว เราก็นำกระดาษ ปากกาเมจิก อุปกรณ์ต่าง ๆ มาลงมือทำ โดยแบ่งหน้าที่กัน ตามความถนัด ความชอบของแต่ละคน

ฉันถนัดด้านการเขียนมากกว่า 
แต่ก็พยายามเรียนรู้การวาดภาพ ระบายสีจากเพื่อน

แต่ละกลุ่ม ตั้งใจทำงานกันมาก ผลงานสวย ๆ ทั้งนั้นเลย
  • งานนี้บางกลุ่มยังไม่เสร็จสมบูรณ์ อาจารย์จึงให้นำไปทำเป็นการบ้าน แล้วมานำเสนอในชั่วโมงหน้า
การนำความรู้มาประยุกต์ใช้
  • เมื่อมีความรู้เรื่องการทำสื่อที่จะพัฒนาเด็กทางด้านภาษามากขึ้น ก็ทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ที่ให้ความรู้ และแปลกใหม่ เป็นที่น่าสนใจของเด็ก ๆ
  • การแต่งเรื่องปริศนาสำหรับเด็กนั้น ไม่ควรที่จะมีเนื้อเรื่องยาวเกินไป สั้น ๆ และเข้าใจก็พอ เมื่อเรามีความรู้เรื่องนี้ เราก็สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้การเรียนรู้ของเด็กประสบความสำเร็จ และมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยได้
  • สามารถนำไปประยุกต์เป็นสื่ออย่างอื่นได้ เช่น นิทาน เพลง เกมการศึกษาต่าง ๆ เป็นต้น แล้วแต่ความสนใจของเด็ก หรือการส่งเสริมประสบการณ์ในด้านที่ครูต้องการ
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : มีความตั้งใจฟัง ตั้งใจทำงานตามที่ตนเองได้รับมอบหมาย ยินดีช่วยเหลืองานเพื่อนอย่างเต็มที่
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ให้ความสนใจ และตั้งใจทำงาน มีจินตนาการที่สร้างสรรค์ ช่วยเหลือกันทั้งในกลุ่มและนอกกลุ่ม
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้ความเป็นกันเองกับนักศึกษามาโดยตลอด สอนเข้าใจ ไม่น่าเบื่อ และให้คำแนะนำในสิ่งที่ดีเสมอ








วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13.30-17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

  • ก่อนเริ่มการเรียนการสอน อาจารย์ก็มีกิจกรรมให้ทำ คือ การฟังเสียง ที่อาจารย์เปิดให้ฟัง แล้วทายว่า เป็นเสียงของอะไร ? ซึ่งครั้งแรกจะเป็นเสียงสัตว์ ได้แก่ หมา แมว หมู วัว ไก่โต้ง ม้า แม่ไก่ ลา แกะ นก (ทายถูกบ้าง ผิดบ้าง) แล้วอาจารย์ก็เฉลย
  • ครั้งที่ 2 คือ การทายเสียงเครื่องดนตรีต่าง ๆ เช่น ไวโอลิน แซ็กโซโฟน ฉาบ กีตาร์ กลอง เปียโน ไซโลโฟน ฟลุ๊ท ทรัมเป็ต เป็นต้น จากนั้นอาจารย์ก็เฉลย
กิจกรรมนี้ เป็นการเตรียมความพร้อมก่อนการเรียนอย่างดี 
เพราะทำให้แต่ละคนมีสมาธิจดจ่อ ตั้งใจฟัง และคิดวิเคราะห์ไปพร้อม ๆ กัน 
นอกจากนั้น ยังทำให้ได้ความรู้เกี่ยวกับเสียงต่าง ๆ ที่ไม่เคยรู้มาก่อนด้วย
  • กิจกรรมต่อมา คือ การเล่นเกม ให้ทุกคนเอ่ยชื่อจริงของตนเอง พร้อมทั้งท่าประกอบ เช่น ถ้าชื่อมี 5 พยางค์ ก็ต้องทำ 5 ท่า เป็นต้น ต่อมา... อาจารย์ก็ให้จำชื่อ และท่าของเพื่อนด้านขวามือ และซ้ายมือ แล้วค่อยบอกชื่อ กับท่าทางของตนเอง เวียนกันจนครบทุกคน
กิจกรรมนี้ มีความสนุกสนาน เพราะเพื่อนแต่ละคนก็มีท่าทางที่ตลก 
หรือแปลกใหม่ ต่างกันไป และทำให้มีความตั้งใจ ฝึกทักษะการสังเกต และความจำด้วย
  • ต่อมา คือ การร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย ที่อาจารย์ให้ซ้อมร้องมาก่อน ซึ่งมีความสนุกสนานกันมาก และอาจารย์ก็พึงพอใจที่ทุกคนทำการบ้านกันมาดี  จากนั้น อาจารย์ก็แจ้งการสอบเก็บคะแนน และสอบปลายภาคให้นักศึกษาทราบ ว่าต้องเตรียมตัวสอบอะไรบ้าง


ต่อมา อาจารย์ก็ให้ฝึกเขียนกระดาน โดยแบ่งทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม 
  • เขียนชื่อ-สกุล ข้อมูลของตนเอง สลับกันกับเพื่อน
  • เขียนตามคำบอกของเพื่อน โดยที่ต้องเขียนให้เร็วขึ้น
  • จากนั้นก็เขียนข้อมูลส่วนตัว ที่อยากเขียน คัดสวย ๆ ไปส่งอาจารย์



" ผลงานของหนูเองค่ะ "
จากการฝึกเขียนกระดานครั้งนี้ ทำให้ได้ความรู้ว่า การเขียนให้หัวกลมใหญ่ เส้นตัวหนังสือใหญ่ 
จะทำให้มีความสวยงาม และทำให้เขียนตรง เป็นระเบียบมากขึ้น การฝึกเขียนบ่อย ๆ 
จะทำให้เกิดความเคยชิน และมีทักษะในการเขียนเพิ่มมากขึ้น

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

  • ทำให้มีทักษะในการร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย และสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เมื่อมีความรู้ มีทักษะเกี่ยวกับการเขียนบนกระดาน ที่จำเป็นต้องได้ใช้ในอนาคตแน่นอน ก็ทำให้ตระหนักเห็นความสำคัญ ตั้งใจฝึกฝนบ่อย ๆ เพื่อจะได้มีลายมือที่สวยงาม เป็นระเบียบ และใช้ในการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัยในวันข้างหน้า
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจทำกิจกรรม และตั้งใจเรียน ตั้งใจทำงานในสิ่งที่อาจาร์มอบหมายอย่างเต็มที่ ยินดีให้คำปรึกษาแก่เพื่อน ๆ ได้เสมอ มีความรู้ ความเข้าใจในการเรียนวันนี้
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ทุกคน เต็มที่ในการทำกิจกรรม และตั้งใจทำงานตามที่อาจารย์มอบหมาย ได้เสร็จทันเวลา บรรยากาศการเรียนกับเพื่อน ๆ สนุกสนานมาก
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมการสอนมาดีทุกคาบ มีกิจกรรมให้นักศึกษาได้เตรียมพร้อมก่อนเรียน และได้ผ่อนคลาย มีความเข้าใจ เอาใจใส่ ให้คำแนะนำนักศึกษาดีมาก


วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม 2558 เวลา 13.30-17.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้ได้ดาวเด็กดีอีก 1 ดวง เพราะเข้าเรียนตรงเวลา 
เหลืออีก 1 ดวงก็เต็มช่องรางวัลเด็กดีแล้ว !!!

กิจกรรมแรก ของวันนี้ คือ การออกมานำเสนอเพลงที่แต่ละกลุ่มแต่ง และให้ตัวแทนกลุ่มออกมาสมมุติบทบาทเป็นครู บรรยากาศการเรียนการสอนช่วงนี้ สนุกสนานเฮฮามาก อดขำกันไม่ได้เลย 



คุณครูแต่ละคนเนี่ย น่ารักทั้งนั้นเลย เด็ก ๆ ก็ตั้งใจและให้ความร่วมมือกันมาก ๆ 

  • กิจกรรมต่อมา คือ การเล่นเกมเพื่อเตรียมความพร้อมในการเรียนเนื้อหาต่อไป เกมนั้นคือการกระซิบคำจากคนแรก จนมาถึงคนสุดท้ายของแถว แล้วให้คนสุดท้าย ลุกขึ้นพูดคำที่ได้รับจากการฟังเพื่อนบอกมา ถ้าหากกลุ่มใดพูดได้ถูกต้องตามแบบที่ครูให้ ก็แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจ การจดจำรายละเอียดของประโยคนั้นได้ดี
กระซิบกันใหญ่เลย >///<
  • เมื่อสนุกสนาน เตรียมพร้อมจากการเล่นเกมแล้ว ก็เข้าสู่เนื้อหาด้านวิชาการเกี่ยวกับ "การสอนแบบโครงการ (Project Approach)" ในการบรรยายความรู้จากอาจารย์นั้น ก็จะมีตัวอย่างโครงการของเด็ก ๆ มาให้ศึกษาด้วย ซึ่งจากที่จับใจความได้ ทำให้ได้ความรู้ ดังต่อไปนี้
  • การทำโครงการ คือ การให้เด็กระดมสมอง หรือระดมความคิดกัน (จะไม่ใช้คำว่า โหวต) ว่าเด็ก ๆ มีความสนใจ และอยากจะทำเรื่องอะไร เมื่อสรุปได้แล้ว 
  • วันต่อมา ครูก็ต้องเตรียมแผ่นชาร์ต ขีดเส้นเตรียมเขียนให้เรียบร้อย เพื่อนำมาสอบถามประสบการณ์เดิมของเด็ก ๆ แต่ละคนที่มีต่อเรื่องที่จะทำ
  • วันต่อมา คือ แผ่นชาร์ตคำถามที่เด็กอยากรู้ โดยถามทีละคน จนครบ 
  • และวันต่อมา จะต้องมีแผ่นชาร์ต สอบถามกิจกรรมที่เด็กอยากทำ ซึ่งการทำโครงการนั้นจะต้องตอบคำถามที่เด็กถามได้ทั้งหมด ดำเนินการตามกิจกรรม และสรุปจัดนิทรรศการ
จากนั้น อาจารย์ก็ให้ดูวิดิโอเกี่ยวกับการสอนแบบโครงการ (Project Approach) เรื่อง "เห็ด" ของโรงเรียนเกษมพิทยา เพื่อเป็นตัวอย่าง และทำให้มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น


  • กระบวนการที่สำคัญในการสอนแบบโครงการ (Project Approach) นั้น มี 5 ข้อ ดังนี้
  1. การอภิปรายกลุ่ม
  2. การนำเสนอประสบการณ์
  3. การศึกษานอกสถานที่ หรืองานในภาคสนาม
  4. การสืบค้น
  5. การจัดแสดง
การเขียนสรุปนั้น ต้องเขียนตามเข็มนาฬิกา เพื่อให้เด็กเรียนรู้ตามลำดับ


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

  • สามารถเป็นแนวทางในการจัดการสอนในอนาคต เกี่ยวกับการสอนแบบโครงการ (Project Approach) เพื่อนำไปปฏิบัติอย่างถูกต้อง และสามารถต่อยอดให้โครงการมีความน่าสนใจ ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้รอบด้าน
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ และตั้งใจฟัง จดบันทึกใจความสำคัญของการเรียนในวันนี้ได้พอสมควร
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ทุกคน เมื่อถึงเวลาทำกิจกรรมก็ช่วยกันเต็มที่ จริงจัง และสนุกสนานไปพร้อม ๆ กัน เมื่อเข้าสู่เนื้อหา ก็ตั้งใจฟังในสิ่งที่ครูสอน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมการสอนมาดีมาก มีการสอดแทรกกิจกรรมสนุก ๆ และฝึกสมาธิก่อนจะเรียน ทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อ