ความรู้ที่ได้รับ
- วันนี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของการเรียนวิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ก่อนจะรวบรวมแผ่นปั๊มเข้าเรียนส่งอาจารย์ ก็ถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก
- กิจกรรมวันนี้ อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มที่ทำงานเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน และแสดงบทบาทสมมติเป็นครู เป็นเด็กปฐมวัย มาดูบรรยากาศในห้องเรียนกัน !!!
- นี่คือผลงานของกลุ่มนะคะ
- กิจกรรมต่อมา คือ การเข้าสู่เนื้อหาเกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษา
ให้ได้เรียนรู้ ซึ่งได้เห็นความแปลกใหม่ ความหลากหลายซึ่งแต่ละที่ ไม่เหมือนกัน
สรุปความรู้ที่ได้ ดังนี้
- โรงเรียนทุ่งมหาเมฆ จะมีการสอนแบบวอลดอร์ฟ เน้นธรรมชาติ การจัดสภาพแวดล้อม ที่ใช้ไม้ต่าง ๆ
- โรงเรียนเกษมพิทยา จะเน้นการสอนแบบภาษาธรรมชาติ เป็นตัวหนังสือที่มีความหมายกับเด็ก และให้เด็กได้เห็น ได้เรียนรู้จากของจริง
- ข้อตกลงในการเล่น จะต้องมาจากการระดมความคิดระหว่างครูกับเด็กด้วย
- การจัดมุมหนังสือ สำหรับเด็กเล็ก จะต้องใส่ป้ายหรือชื่อเรื่องกำกับไว้ด้วย สำหรับเด็กโต ไม่จำเป็นต้องใส่ก็ได้
- บอร์ดสมาชิกในห้องเรียน นอกจากจะมีรูปและชื่อแล้ว ควรมีคำบรรยายเกี่ยวกับเด็ก หรือคุณครูด้วย เพื่อให้มีความน่าสนใจ และรู้จักตัวตนแต่ละคนมากขึ้น
- ผลงานต่าง ๆ ที่เด็กทำ ไม่ควรเก็บไว้ ควรนำมาใช้ หรือตกแต่งห้องเรียนก็ได้
- การเรียนรู้ได้ผลดีมากที่สุดตั้งแต่แรกเกิด และจะเริ่มหยุดเมื่ออายุ 7 ปี
นอกจากนี้ ยังมีวีดิโอการสังเกต การเรียนการสอน ของโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศน์
ที่พี่ปี 4 เอกการศึกษาปฐมวัย จัดทำขึ้นด้วย
วีดิโอนี้ ทำให้ได้เห็นกิจกรรมการเรียนการสอน ที่มีความหลากหลาย
ส่งเสริมพัฒนาการการเรียนรู้ให้กับเด็กอย่างรอบด้าน บรรยากาศน่าเรียน
และทำให้เห็นศักยภาพของรุ่นพี่แต่ละคนอีกด้วย
- กิจกรรมของโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศน์ มีดังนี้ กิจกรรมกลางแจ้ง, เสริมประสบการณ์การทำอาหาร, การเคลื่อนไหว, วิทยาศาสตร์, ศิลปะ, English โปรแกรม เป็นต้น
- ต่อมา อาจารย์ก็พาทำสมาธิ ก่อนที่จะเรียนเนื้อหาต่อไป ซึ่งสามารถนำมาใช้ก่อนอ่านหนังสือสอบ หรือทำอะไรที่ต้องใช้สมาธิมาก ๆ
- เนื้อหาต่อมา คือ การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย ซึ่งอาจารย์ได้อธิบายและให้คำแนะนำในการเขียนแผนที่เข้าใจง่าย ชัดเจน ครบถ้วน
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- เมื่อมีความรู้ ได้เห็นความหลากหลายในการจัดสภาพแวดล้อมสำหรับเด็กปฐมวัยมากขึ้น ก็ทำให้เกิดไอเดียดี ๆ ที่แปลกใหม่ จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอนาคตได้ เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความรู้ความเข้าใจในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งนำมาใช้ในการเรียน และการทำงานในอนาคตได้
- นำการฝึกสมาธิที่อาจารย์พาทำ ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เมื่อต้องการฝึกสมาธิ หรือการมีสมาธิในการทำกิจกรรมอื่น ๆ
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : มีความตั้งใจในการเรียน ให้ความร่วมมือกับเพื่อน ๆ การฝึกสมาธิบางอย่าง ยังทำได้ไม่ดีนัก ต้องฝึกทำบ่อย ๆ
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีผลงานที่สวยงามนำมาเสนอหน้าชั้นเรียน สนุกสนานเฮฮา
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมการสอนมาดีมาก ทำให้นักศึกษามีความสุข สนุกไปกับการเรียน ถึงจะเป็นเนื้อหาวิชาการ แต่ก็ไม่มีความน่าเบื่อ เพราะอาจารย์สอดแทรกกิจกรรมให้นักศึกษาได้ทำอย่างสม่ำเสมอ