พุยพุย

วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม 2558 เวลา 13.30-17.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้ได้ดาวเด็กดีอีก 1 ดวง เพราะเข้าเรียนตรงเวลา 
เหลืออีก 1 ดวงก็เต็มช่องรางวัลเด็กดีแล้ว !!!

กิจกรรมแรก ของวันนี้ คือ การออกมานำเสนอเพลงที่แต่ละกลุ่มแต่ง และให้ตัวแทนกลุ่มออกมาสมมุติบทบาทเป็นครู บรรยากาศการเรียนการสอนช่วงนี้ สนุกสนานเฮฮามาก อดขำกันไม่ได้เลย 



คุณครูแต่ละคนเนี่ย น่ารักทั้งนั้นเลย เด็ก ๆ ก็ตั้งใจและให้ความร่วมมือกันมาก ๆ 

  • กิจกรรมต่อมา คือ การเล่นเกมเพื่อเตรียมความพร้อมในการเรียนเนื้อหาต่อไป เกมนั้นคือการกระซิบคำจากคนแรก จนมาถึงคนสุดท้ายของแถว แล้วให้คนสุดท้าย ลุกขึ้นพูดคำที่ได้รับจากการฟังเพื่อนบอกมา ถ้าหากกลุ่มใดพูดได้ถูกต้องตามแบบที่ครูให้ ก็แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจ การจดจำรายละเอียดของประโยคนั้นได้ดี
กระซิบกันใหญ่เลย >///<
  • เมื่อสนุกสนาน เตรียมพร้อมจากการเล่นเกมแล้ว ก็เข้าสู่เนื้อหาด้านวิชาการเกี่ยวกับ "การสอนแบบโครงการ (Project Approach)" ในการบรรยายความรู้จากอาจารย์นั้น ก็จะมีตัวอย่างโครงการของเด็ก ๆ มาให้ศึกษาด้วย ซึ่งจากที่จับใจความได้ ทำให้ได้ความรู้ ดังต่อไปนี้
  • การทำโครงการ คือ การให้เด็กระดมสมอง หรือระดมความคิดกัน (จะไม่ใช้คำว่า โหวต) ว่าเด็ก ๆ มีความสนใจ และอยากจะทำเรื่องอะไร เมื่อสรุปได้แล้ว 
  • วันต่อมา ครูก็ต้องเตรียมแผ่นชาร์ต ขีดเส้นเตรียมเขียนให้เรียบร้อย เพื่อนำมาสอบถามประสบการณ์เดิมของเด็ก ๆ แต่ละคนที่มีต่อเรื่องที่จะทำ
  • วันต่อมา คือ แผ่นชาร์ตคำถามที่เด็กอยากรู้ โดยถามทีละคน จนครบ 
  • และวันต่อมา จะต้องมีแผ่นชาร์ต สอบถามกิจกรรมที่เด็กอยากทำ ซึ่งการทำโครงการนั้นจะต้องตอบคำถามที่เด็กถามได้ทั้งหมด ดำเนินการตามกิจกรรม และสรุปจัดนิทรรศการ
จากนั้น อาจารย์ก็ให้ดูวิดิโอเกี่ยวกับการสอนแบบโครงการ (Project Approach) เรื่อง "เห็ด" ของโรงเรียนเกษมพิทยา เพื่อเป็นตัวอย่าง และทำให้มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น


  • กระบวนการที่สำคัญในการสอนแบบโครงการ (Project Approach) นั้น มี 5 ข้อ ดังนี้
  1. การอภิปรายกลุ่ม
  2. การนำเสนอประสบการณ์
  3. การศึกษานอกสถานที่ หรืองานในภาคสนาม
  4. การสืบค้น
  5. การจัดแสดง
การเขียนสรุปนั้น ต้องเขียนตามเข็มนาฬิกา เพื่อให้เด็กเรียนรู้ตามลำดับ


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

  • สามารถเป็นแนวทางในการจัดการสอนในอนาคต เกี่ยวกับการสอนแบบโครงการ (Project Approach) เพื่อนำไปปฏิบัติอย่างถูกต้อง และสามารถต่อยอดให้โครงการมีความน่าสนใจ ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้รอบด้าน
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ และตั้งใจฟัง จดบันทึกใจความสำคัญของการเรียนในวันนี้ได้พอสมควร
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ทุกคน เมื่อถึงเวลาทำกิจกรรมก็ช่วยกันเต็มที่ จริงจัง และสนุกสนานไปพร้อม ๆ กัน เมื่อเข้าสู่เนื้อหา ก็ตั้งใจฟังในสิ่งที่ครูสอน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมการสอนมาดีมาก มีการสอดแทรกกิจกรรมสนุก ๆ และฝึกสมาธิก่อนจะเรียน ทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อ


วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม 2558 เวลา 13.30-17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

  • กิจกรรมวันนี้ คือ การแต่งเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย และทำไม้ชี้กระดาน




  • เมื่ออาจารย์มอบหมายให้แต่ละกลุ่มแต่งเพลง ที่เกี่ยวกับหัวข้อเดิมที่แต่งคำคล้องจองในสัปดาห์ที่ผ่านมา กลุ่มของดิฉัน ได้แต่งเพลง "ขนมไทย"
 วันนี้อาจารย์แจกสีด้วย >,<

  • เมื่อช่วยกันแต่งเพลงเสร็จแล้ว ก็แบ่งกันเขียนเนื้อเพลง คนละบรรทัด ซึ่งทำให้รู้ว่า จะต้องมีชื่อเพลง ชื่อผู้แต่ง และเนื้อเพลง รวมถึงรูปภาพประกอบเนื้อเพลงด้วย นอกจากนั้นยังได้ทักษะในการเขียนตัวหัวกลมตัวเหลี่ยมเพิ่มมากขึ้น
  
ท๊าดา... !!! ผลงานของกลุ่มเราเสร็จแล้วค่ะ
  •  กิจกรรมต่อมา คือ การทำไม้ชี้กระดานสำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์แจกไม้ให้เลือกตามใจชอบ แล้วให้นักศึกษาวาดรูปตุ๊กตา หรือตกแต่งอย่างไรก็ได้ ตามความสนใจของตนเอง
>> ผลงานของดิฉัน คือ รูปมินเนี่ยน หัวตั้งค่ะ ฮ่าๆๆ <<

 ผลงานของเพื่อนทุกคน สวยมากเลย ^_^

  • เมื่อทำสื่อเสร็จแล้ว อาจารย์ก็สอนวิธีพาเด็กร้องเพลง ซึ่งจะต่างจากการอ่านคำคล้องจอง โดยมีขั้นตอนเพิ่มมาอีก 1 ขั้น คือ มีท่าทางประกอบด้วย
  • ซึ่งจากกิจกรรมนี้ทำให้ได้ความรู้ ได้ทักษะการสอนเด็กร้องเพลงมากขึ้น ซึ่งเริ่มต้นจากการเก็บเด็ก ร้องให้เด็กฟังทั้งหมด 1 รอบ พาเด็กร้องทีละ 1 วรรค หรือตามความเหมาะสมของเด็กแต่ละช่วงวัย จากนั้นก็ร้องไปพร้อมกับเด็ก ๆ และสุดท้าย คือมีท่าทางประกอบเพลง

จากนั้นอาจารย์ก็แจกเนื้อเพลงให้ไปฝึกร้อง และให้แต่ละกลุ่มไปซ้อมการพาเด็กร้องเพลง 
โดยจะให้ทุกกลุ่มออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียนในสัปดาห์ถัดไป...

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • ทำให้มีความรู้ในการสอนร้องเพลง แก่เด็กปฐมวัย และสามารถทำการสอนได้ถูกต้อง
  • เมื่อมีทักษะในการแต่งเพลง ทำสื่อ ไม้ชี้ ในการทำงานครั้งต่อไปก็จะทำให้ผลงานมีคุณภาพมากขึ้น
  • เมื่อได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันจากแต่ละกลุ่ม ก็ทำให้ได้ความรู้ที่หลากหลาย ซึ่งจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสอนเด็กได้หลายรูปแบบ ทำให้การเรียนการสอนสนุกสนาน ไม่น่าเบื่อ
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจทำงานที่ตนเองได้รับมอบหมาย และช่วยเหลือสมาชิกในกลุ่ม รวมถึงเพื่อน ๆ ต่างกลุ่มด้วย
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจทำงาน ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำให้งานทุกชิ้นสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
ประเมินอาจารย์ : อาจาร์น่ารักมาก เตรียมการสอนมาอย่างดี ทำให้การเรียนไม่ยืดเยื้อ น่าเบื่อ และอาจารย์ยังให้คำปรึกษา ชี้แนะแนวทางให้กับนักศึกษา ให้ความเอาใจใส่ในแต่ละกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน



วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม 2558 เวลา 13.30-17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

  • ก่อนที่จะอ่านคำคล้องจอง หรือพาเด็กทำกิจกรรมต่าง ๆ จะต้องมีการเก็บเด็กทุกครั้ง เพื่อให้เด็กตั้งใจฟัง ในสิ่งที่ครูกำลังจะสอน เช่น การร้องเพลง เคาะเสียงดนตรี เป็นต้น
  • การอ่านออกเสียง ต้องมีความชัดเจน และถูกต้อง เพื่อเป็นแบบอย่างในการใช้ภาษาที่ดีแก่เด็ก
  • การชี้คำคล้องจอง ไม่ควรชี้ทับตัวหนังสือ เพราะจะทำให้เด็กไม่เกิดการเรียนรู้ด้านการอ่าน หรือการเขียน ต้องชี้ไปทีละคำ ตามที่พาเด็กอ่าน
  • ท่านั่ง ควรเป็นพับเพียบ หรือท่าที่เรียบร้อย สะดวกแก่ผู้อ่าน และไม่ควรนั่งลำเส้นกระดานออกมา เพราะจะทำให้เด็กอีกฝั่งมองไม่เห็น จะทำให้เด็กไม่มีสมาธิในการฟัง
  • การเว้นวรรคการอ่าน ควรคำนึงถึง เด็กเล็กกับเด็กโต ถ้าเด็กเล็ก ต้องพาอ่านทีละประโยคที่มีความยาวไม่มากนัก ส่วนเด็กโตก็จะเพิ่มความยาวในการอ่านทีละวรรคได้มากขึ้น ตามความเหมาะสม
  • เมื่อเสร็จกิจกรรมคำคล้องจอง หรือกิจกรรมอื่น ๆ ควรตั้งคำถามให้เด็กได้ตอบ ได้แสดงความคิดเห็น เพื่อเป็นการทบทวน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
  • การทำไม้ชี้กระดาน ควรมีขนาดใหญ่พอสมควร แต่ปลายที่ใช้ชี้นั้น ควรมีขนาดเรียวเล็ก เพราะจะได้ง่ายต่อการชี้ไปทีละคำ ๆ
.....กิจกรรมวันนี้.....
  • อาจารย์พาอ่านคำคล้องจองเป็นตัวอย่าง แล้วจึงให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนองานที่รับผิดชอบ หรือสมมติบทบาทเป็นครูที่พาเด็ก ๆ อ่านนั่นเอง...


( ชอบรอยยิ้มอาจารย์มากเลยค่ะ >///< )
  • จากนั้น แต่ละกลุ่มก็ออกมานำเสนอ บรรยากาศในการเรียน สนุกสนานเฮฮามาก เพราะต่างคนต่างสมมติบทบาทเป็นครู เป็นเด็ก อยากรู้ว่าเป็นอย่างไร มาชมคลิปกันเลยค่ะ
มาดูภาพกิจกรรมกันเลย !!!



...เพื่อน ๆ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมและตอบคำถามดีมากเลย...



...ครูคนนี้หน้าคุ้น ๆ ... หนูเองค่ะ ฮ่า ๆๆๆ...




  • เมื่อทุกกลุ่มนำเสนอเสร็จ อาจารย์ก็มีการบ้านให้ไปฝึกร้องเพลงตามเนื้อเพลงที่แจกมา และสัปดาห์หน้า อาจารย์จะให้แต่งเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย และร้องเพลงในชั่วโมงเรียน

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • เมื่อได้ความรู้ และทักษะการสอนมากขึ้น ก็ทำให้มีประสบการณ์และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสอนได้อย่างถูกต้อง
  • ทำให้ได้ทักษะในการแต่งคำคล้องจองสำหรับเด็กปฐมวัย และนำไปใช้ในการสอนได้ เพื่อให้เด็กได้มีทักษะการเรียนรู้สิ่งรอบ ๆ ตัว หรือสิ่งที่ครูจัดการเรียนการสอนให้เด็ก จากการอ่าน และจำคำคล้องจอง
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน และทำกิจกรรม ให้ความร่วมมือเพื่อน ๆ อย่างเต็มที่
ประเมินเพื่อน : แต่ละกลุ่มจะส่งตัวแทนออกมานำเสนอ ซึ่งก็มีความแตกต่างกันไป มีเสียงหัวเราะ และสนุกสนานในการเรียน และการทำกิจกรรม ให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์น่ารักมาก และทุก ๆครั้ง จะเตรียมการสอนมาอย่างดี ทำให้การทำกิจกรรมต่าง ๆ เป็นขั้นเป็นตอน เกิดความเข้าใจและเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น อาจารย์ใจดี และยินดีให้คำปรึกษา ยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นกันเองกับนักศึกษามาก ๆ ค่ะ




วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม 2558 เวลา 13.30-17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
  • วันนี้เข้าเรียนตรงเวลาอย่างทุก ๆ สัปดาห์ที่ผ่านมา ปั๊มตัวการ์ตูนบนใบเช็คชื่อเพื่อเป็นหลักฐานในการเข้าเรียน
  • กิจกรรมวันนี้คือ การแต่งคำคล้องจองสำหรับเด็กปฐมวัย แต่ก่อนที่จะทำกิจกรรมนั้น อาจารย์ก็มีเกมสนุก ๆ ให้เล่น และเตรียมความพร้อมในการเรียน คือ ให้ทุกคนยืนเป็นวงกลม แล้วร้องเพลงพร้อมทำท่าประกอบ เมื่อครูบอกให้จับกลุ่มตามจำนวนที่ครูบอก ก็รีบจับกลุ่มให้เร็วที่สุด และถูกต้องด้วย หากคนไหนช้า หรือสมาชิกในกลุ่มไม่ครบตามจำนวน ก็ให้ออกมารำวงให้เพื่อน ๆ ดู ซึ่งกิจกรรมนี้ เรียกเสียงหัวเราะจากทุกคน และถือว่าเป็นการเตรียมความพร้อม ความมีสติมีสมาธิก่อนเข้าสู่บทเรียนได้เป็นอย่างดี




  • ต่อมา คือ การลงมือทำผลงานคำคล้องจองตามตัวอย่างที่อาจารย์นำมาให้ดู 

  • อันดับแรก อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มคิดหัวข้อที่จะนำมาแต่งเป็นคำคล้องจอง ซึ่งมีทั้งหมด 4 กลุ่ม หัวข้อที่ได้มีดังนี้ ท้องฟ้า จักรวาล ขนมไทย และทะเล กลุ่มของดิฉันจับได้หัวข้อ ขนมไทย เริ่มต้น ด้วยการเขียนแผนผังความคิดที่เกี่ยวกับหัวข้อที่ได้รับผิดชอบ ซึ่งมีหัวข้อย่อยดังนี้ ขนมไทยมีอะไรบ้าง วัตถุดิบ สถานที่ขายสินค้าดังกล่าว เป็นต้น

  • เมื่อได้ข้อมูลแล้วก็นำมาแต่งเป็นคำคล้องจองช่วยกัน แต่หมดชั่วโมงเรียนก่อน ทุกกลุ่มยังทำไม่เสร็จเรียบร้อย อาจารย์เลยให้นำไปทำเป็นการบ้าน แล้วให้ออกมานำเสนอในอาทิตย์หน้า
  • แต่ก่อนกลับนั้น อาจารย์ก็สอนวิธีการอ่านคำคล้องจอง โดยพาอ่านเป็นตัวอย่าง 1 รอบ และให้เพื่อนอาสามาเป็นครูพาเด็ก ๆ อ่าน ซึ่งกิจกรรมนี้ทำให้รู้ว่า จะต้องอ่านให้เด็กฟังทั้งหมดก่อน 1 รอบ แล้วก็พาเด็กอ่านทีละบรรทัด ตอนสุดท้ายก็ให้อ่านไปพร้อมกับครู... นอกจากนั้น ยังได้ความรู้อีกว่า คำคล้องจอง สำหรับเด็กนั้น ไม่จำเป็นต้อง สัมผัสถูกต้องตามหลักมาก ขอแค่มีเสียงที่คล้องจองกัน ง่ายต่อการอ่าน และการจำของเด็ก ๆ ก็พอ


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • เมื่อมีทักษะในการแต่งกลอน หรือคำคล้องจองมากขึ้น ก็สามารถปรับเปลี่ยน ไปประยุกต์ใช้กับการสอนสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก เพราะคำคล้องจองนั้น จะทำให้เด็กจำได้มากกว่าการท่องจำธรรมดา นอกจากนั้น ยังสามารถที่จะแทนคำบางคำให้เป็นรูปภาพ เพื่อให้เด็กได้เรียนภาษาธรรมชาติด้วย
  • เมื่อรู้จักวิธีการอ่านคำคล้องจองที่ถูกต้อง ก็สามารถนำไปสอนเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี
การประเมินผล
>> ประเมินตนเอง : มีความตั้งใจในการทำกิจกรรม และการเรียน มีส่วนร่วมเต็มที่ ช่วยงาน ช่วยระดมความคิดกับเพื่อน ๆ มีความกระตือรือร้นในการทำงาน
>> ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ มีความตั้งใจในการทำกิจกรรมทุก ๆ อย่าง ช่วยเหลือ ให้คำปรึกษากัน รับผิดชอบหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย มีความสนุกสนานในการเรียน
>> ประเมินอาจารย์ : อาจารย์น่ารักมาก เตรียมการสอนมาอย่างดี ทำให้เรียนเข้าใจ สนุกสนาน และอาจารย์ก็ยินดีให้คำปรึกษาเสมอ