พุยพุย

วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน 2558 เวลา 13.30-17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

  • เมื่อปั๊มใบมาเรียนเสร็จ อาจารย์ก็พาทำกิจกรรม เล่นเกม เพื่อเตรียมความพร้อม ให้นักศึกษามีความกระตือรือร้น มีสมาธิในการเรียนมากขึ้น หากใครทำผิดกติกาก็ให้ออกมาเต้นหน้าชั้นเรียน



  • จากนั้น อาจารย์ก็เริ่มสอนเนื้อหาใหม่ วันนี้เรียนเรื่อง แนวทางการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ขณะเดียวกัน อาจารย์ก็สอดแทรกความรู้ของนักทฤษฎีต่าง ๆ และแนวคิดของทฤษฎีนั้น ๆ เพื่อเป็นการทบทวนความรู้เดิม 
  • แนวทางการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย มีเนื้อหาพอสังเขป ดังนี้
          -  มุมมองต่อภาษาในการจัดประสบการณ์ ได้แก่ มุมมองด้านโครงสร้าง ด้านหน้าที่ และด้านปฏิสัมพันธ์ของภาษา
          -  การสอนแบบอ่านแจกลูก หรือการอ่านสะกดคำ เช่น หอ-อู-หู, กอ-อา-กา เป็นต้น ซึ่งทำให้รู้ว่า การสอนวิธีนี้ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ ลักษณะการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
          -  การสอนแบบภาษาธรรมชาติ หรือแบบองค์รวม ซึ่งวิธีนี้เป็นการสอนที่ดีที่สุด ได้ผลดีที่สุดสำหรับเด็กปฐมวัย เพราะเด็กจะได้เรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์และการลงมือกระทำ รวมถึงอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่จะส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ไม่เข้มงวดการท่อง สะกด และไม่บังคับให้เด็กเรียนอย่างเดียว ซึ่งอาจารย์ได้มีวิดิโอมาให้นักศึกษาดู เพื่อให้มีความเข้าใจ สามารถมองภาพการเรียนรู้โดยการสอนแบบภาษาธรรมชาติได้มากขึ้น
              


- สิ่งที่สรุปได้จากวิดิโอ -
* การสะกดคำยากสำหรับเด็ก
* การสอนเด็กนั้น ควรมีทั้งภาพและคำ
* ต้องยอมรับในสิ่งที่เด็กพูด อ่าน เขียน
* อย่าคาดหวังว่าเด็กจะมีพัฒนาการเหมือนกัน
* การพัฒนาภาษาแบบธรรมชาติ สามารถบูรณาการได้หลากหลาย
เป็นต้น

  • ในขณะเรียนเนื้อหาวิชาการ อาจารย์ก็มีกิจกรรมให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมอยู่เป็นระยะ ๆ เช่น การร้องเพลง/จับหรือสัมผัสส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ตามเนื้อเพลง, การอ่านคำตามภาพ 






  • การสอนเด็กปฐมวัยแต่ละสถานศึกษา ก็มีความแตกต่างกันไป เช่น บางที่จะสอนเด็กให้คัดพยัญชนะไทยตามลำดับ ตั้งแต่ ก-ฮ หรือ บางที่อาจจะสอนเด็กเขียนตัวอักษรที่ง่าย ๆ ก่อน ค่อยไปเขียนตัวอักษรที่ยากขึ้นตามลำดับ และอาจารย์ก็ยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจมากขึ้น ซึ่งทำให้รู้ว่า การสอนแบบไม่เรียงลำดับ อาจจะง่ายก็จริง แต่จะทำให้เด็กเกิดความสับสนได้



  • นอกจากนั้น ยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้คำพูด หรือภาษาสำหรับคุณครู ในการที่จะพูดกับเด็กปฐมวัย เพื่อให้การสื่อสารมีผลดีมากขึ้น เพราะเด็กปฐมวัยจะชอบคุณครูที่พูดเพราะ และไม่ควรพูดคำว่า "ไม่ หรือ อย่า" กับเด็ก ๆ อาจจะมีวิธีพูดที่ดีกว่าดังภาพตัวอย่าง

บรรยากาศในห้องเรียนวันนี้ :)
  • กิจกรรมสุดท้าย อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคน ออกมาร้องเพลงหน้าชั้นเรียน คนละ 1 เพลง ซึ่งเป็นเพลงที่อาจารย์เคยสอน เพื่อให้นำไปสอนเด็กปฐมวัยในอนาคตได้




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

  • นำคำพูดเชิงบวก หรือภาษาสำหรับครูที่จะใช้กับเด็ก ไปฝึกพูดเพื่อให้เกิดมนุษยสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก
  • สามารถเป็นต้นแบบที่ดีให้แก่เด็กได้ ในการสื่อสารหรือการใช้ภาษาที่ถูกต้อง
  • ในการทำงานทุกครั้ง ครูต้องสามารถเขียนบรรยายใต้ผลงานเด็กได้ โดยคำบรรยายนั้นต้องออกมาจากความคิดหรือคำพูดเด็ก
  • เมื่อรู้ว่า เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน จึงทำให้เป็นความรู้ว่า ควรจัดประสบการณ์ให้เด็กแต่ละคนอย่างไร เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของเด็ก และทำให้เด็กมีพัฒนาการในการเรียน รวมถึงประสบการณ์ต่าง ๆ ได้มากขึ้น
การประเมินผล

ประเมินตนเอง : ตนเองมีความตั้งใจในการเรียนมีความเข้าใจในบทเรียน และกิจกรรมต่าง ๆ ที่อาจารย์มอบหมาย อาจจะล่าช้าบ้าง แต่ก็พยายามพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้น 


ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียน และทำกิจกรรม บรรยากาศการเรียนมีความสนุกสนาน เสียงหัวเราะ และช่วยเหลือกัน ทำให้เรียนอย่างมีความสุข ไม่น่าเบื่อ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีความตรงต่อเวลา เตรียมความพร้อมในการสอนมาดีมาก ทำให้การเรียนและการทำกิจกรรมต่าง ๆ ราบรื่น น่าสนใจ ไม่น่าเบื่อ อาจารย์ใจดี พร้อมให้คำปรึกษา เป็นกันเองกับนักศึกษามาก ๆ ค่ะ


วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3 
วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน 2558 เวลา 13.30-17.30 น.

กิจกรรมการเรียนการสอน

  • เมื่อถึงเวลาเรียน สิ่งที่ทำเป็นอันดับแรกคือการปั๊มใบเข้าเรียน เพื่อเป็นการบ่งบอกว่ามาเรียนตรงเวลา สำหรับวันนี้ได้รางวัลเด็กดีไป 4 ช่องด้วยกัน 2 ช่องแรก คือการเข้าร่วมอบรมประกันคุณภาพการศึกษา เมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน 2558 และ 2 ช่องต่อมา คือการมีส่วนร่วมในการออกไปทำกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
  • กิจกรรมต่อมา คือการทบทวนเพลง ที่ร้องไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ได้แก่ เพลงตาดูหูฟัง จ้ำจี้ดอกไม้ ดอกไม้ นกเขาขัน และเพลงกินผักกัน จากนั้นก็ต่อด้วยการฝึกร้องเพลงใหม่ จำนวน 5 เพลง ได้แก่ เพลงดวงอาทิตย์ รำวงดอกมะลิ ดอกมะลิ ดวงจันทร์ และเพลงดอกกุหลาบ




·         อาจารย์ได้ให้แผ่น CD เพลงและ VDO ประกอบเพลงต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัย ให้นักศึกษาได้นำไปฝึกร้อง ฝึกเต้นประกอบเพลง และใช้ในการทบทวน เพื่อนำมาสอบในรายวิชานี้ด้วย

·          กิจกรรมต่อมา เริ่มเข้าหลักวิชาการ ซึ่งวันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับหัวข้อ “แนวคิดนักการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาษาของเด็กปฐมวัย”


  • ต่อมา อาจารย์ก็มีเกมกิจกรรมมาให้นักศึกษาออกมาร่วมทำหน้าชั้นเรียน โดยให้นักศึกษา อาสาออกมาทำเอง มีชื่อกิจกรรมว่า “กิจกรรมลิ้นพันกัน” คือให้ออกมาอ่านคำ หรือประโยคที่อาจารย์นำมาให้ ซึ่งดิฉันก็ออกไปร่วมทำกิจกรรมนี้ด้วย สนุกมาก ๆ เรียกรอยยิ้ม เสียงหัวเราะจากอาจารย์ และเพื่อน ๆ ได้ อีกทั้งยังได้ฝึกทักษะในการพูดออกเสียงอย่างชัดเจน รวดเร็วอีกด้วย
  • กิจกรรมสุดท้าย คือการร่วมกันแต่งนิทาน ในหัวข้อ “ผลไม้หลากสี” ที่พวกเราช่วยกันระดมความคิด และแบ่งกลุ่มกัน รับผิดชอบวาดภาพ ระบายสี ส่วนประกอบของนิทานแต่ละหน้า ทุกกลุ่มต่างก็มีผลงานที่สวยงาม แตกต่างกันออกไป เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของทุกคน









ความรู้ที่ได้รับ

·         จากการเรียนเกี่ยวกับวิชาการ หัวข้อ แนวคิดนักการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาษาของเด็กปฐมวัย” ทำให้รู้จักนักทฤษฎีต่าง ๆ รวมถึงแนวคิดที่แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ แนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม แนวคิดกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย และแนวคิดของกลุ่มที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาตั้งแต่เกิด และจิตวิทยาการเรียนรู้ ทำให้เข้าใจธรรมชาติความแตกต่างของแต่ละบุคคลมากขึ้น

·          ได้เรียนรู้เพลงที่ใช้สอนเด็กปฐมวัยเพิ่มมากขึ้น และจากการทำกิจกรรมลิ้นพันกัน ทำให้รู้คำ หรือประโยคต่าง ๆ เพิ่มขึ้น เพื่อฝึกทักษะการพูดอย่างถูกต้อง และรวดเร็ว

·         จากกิจกรรมแต่งนิทาน ทำให้รู้ว่า นิทานสำหรับเด็กนั้น ไม่จำเป็นต้องมีเนื้อเรื่องเยอะ เอาเพียงแต่พอเข้าใจ และให้เด็กได้วาดรูป ระบายสี ตามจินตนาการของเขา

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำความรู้ แนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้กับเด็กปฐมวัย เพื่อทำให้มีความเข้าใจในความแตกต่างของแต่ละคน แต่ละช่วงวัย เมื่อเกิดปัญหา ก็สามารถแก้ไขได้อย่างถูกวิธี

  • สามารถนำกิจกรรมที่ทำในวันนี้ เป็นความรู้ และเป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยได้ เช่น การร้องเพลง พร้อมท่าประกอบ การแต่งนิทาน ระหว่างครูกับเด็ก ๆ เพื่อเสริมทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ การมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่น เป็นต้น ทำให้เด็กได้เรียนรู้จากการทำงานของตนเอง ซึ่งสามารถนำไปบูรณาการได้หลากหลายวิชา
การประเมินผล

ประเมินตนเอง : ตนเองตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งออกไปหน้าชั้นเรียน และการทำงานเป็นกลุ่ม ทำหน้าที่ของตนเองที่ได้รับ มอบหมายอย่างเต็มที่ มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับแนวคิดด้านการพัฒนาทาง ภาษา และได้ฝึกทักษะการพูด ออกเสียงอย่างถูกต้อง
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ มีความตั้งใจ ทั้งการเรียน และให้ความร่วมมือ ช่วยกันระดมความคิด   จินตนาการในการทำงาน มีความสุขในเรียนและทำกิจกรรม เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การเรียนไม่เครียด และน่าเบื่อ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีการเตรียมการสอนมาดีมาก ทำให้การเรียนราบรื่น เป็นขั้นเป็นตอนและกิจกรรมต่าง ๆ ที่อาจารย์นำมาสอน ก็มีความสนุกสนาน รวมทั้งได้ความรู้ จากการเรียนและทำกิจกรรมด้วย





วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

วันพฤหัสบดีที่  3 กันยายน 2558 เวลา 13.30-17.30 น.

กิจกรรมการเรียนการสอน

- ปั๊มใบเข้าเรียน และวันนี้ได้รางวัลเด็กดี 2 ช่อง เพราะหลังจากเลิกเรียน อาสาช่วยอาจารย์ถืออุปกรณ์การเรียนการสอนไปเก็บที่ห้อง


- ในขณะที่เพื่อนเพิ่มลิงก์บล็อกให้อาจารย์ คนอื่น ๆ ก็ทำป้ายชื่อของตนเอง เพื่อให้สะดวกต่อการเรียนการสอนมากขึ้น หลังจากนั้น อาจารย์ก็ตรวจสอบความเรียบร้อยลิงก์ของทุกคน และให้คะแนนการทำบล็อก



- กิจกรรมต่อมา คือการทบทวนเพลงต่าง ๆ ที่ได้ฝึกร้องเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยยืนเป็นวงกลม และร้องเพลง ทำท่าทางประกอบเพลง เป็นคู่ ๆ หมุนเวียนกัน จนครบทุกคน


- ต่อมา อาจารย์ก็สอนเนื้อหาด้านวิชาการเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย และมีกิจกรรมที่ทำให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น เป็นการฝึกทักษะทางปัญญา


- จากนั้น อาจารย์ก็ให้วาดภาพสิ่งที่ตนเองชอบ หรือรักมากที่สุด จากสีเทียน สมมติบทบาทว่าตนเองเป็นเด็กปฐมวัย และสลับให้เพื่อนเป็นคุณครู ที่เขียนเหตุผลว่าทำไมชอบสิ่งนี้ให้กับเด็ก ซึ่งผลงานของดิฉันนั้น เป็นชุดเอี๊ยมสีน้ำเงิน เพราะดิฉันชอบใส่ชุดเอี๊ยมมากที่สุด





- เมื่อแต่ละคน มีผลงานของตนเอง อาจารย์จึงให้ตัวแทนนักศึกษา ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน เพื่อเล่าความเป็นมา หรือแชร์ประสบการณ์ให้เพื่อน ๆ ได้ฟังกัน กิจกรรมนี้ทำให้มีเสียงหัวเราะ และความสนุกสนาน เพราะเพื่อนแต่ละคนก็มีเรื่องราวที่นำมาเล่าแตกต่างกันไป หลากหลายความชื่นชอบ

- กิจกรรมทุกครั้งก่อนเลิกเรียน คือการร้องเพลงจำนวน 5 เพลง ประกอบด้วยเพลงตาดูหูฟัง เพลงจ้ำจี้ดอกไม้ เพลงดอกไม้ เพลงนกเขาขัน และเพลงกินผักกัน จากนั้นก็เช็คชื่อก่อนที่จะเลิกเรียน



ความรู้ที่ได้รับ

  • ได้ฝึกทักษะทางปัญญา ไหวพริบปฏิภาณในการคิด การแก้ปัญหา 
  • ได้รู้จักการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น จากการทำกิจกรรมต่าง ๆ เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
  • ทำให้รู้ความหมายของภาษา ความสำคัญของภาษา ทักษะทางภาษา องค์ประกอบของภาษา รวมถึงการรู้จักสื่อสารให้ได้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มีความเข้าใจระหว่างกัน
  • ทำให้ได้ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย ซึ่งมีความแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงวัย
  • ได้รู้ถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

  • เมื่อมีความรู้ ความเข้าใจกับกับการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยมากขึ้น ก็จะทำให้สามารถจัดประสบการณ์ได้ตรงตามความเหมาะสมของเด็กแต่ละช่วงวัย เพื่อให้การเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • สามารถนำเพลงที่ได้ฝึกร้อง พร้อมท่าทางประกอบ ไปสอนเด็กปฐมวัย เพื่อเป็นการส่งเสริมทักษะทางภาษา และการทำกิจกรรมร่วมกันของเด็ก

การประเมินผล

ประเมินตนเอง  ตนเองมีความตั้งใจในการเรียน และการทำกิจกรรมต่าง ๆ อาจจะมีเล่นบ้าง แต่ก็พยายามดึงตนเองกลับมา เพราะทุกกิจกรรมมีความน่าสนใจ จึงทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อ สนุกสนาน ไม่เครียด

ประเมินเพื่อน  เพื่อนทุกคน ตั้งใจเรียน และทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสนุกสนาน ได้ช่วยกันระดมความคิด แชร์ประสบการณ์ที่แปลกใหม่ สามารถเรียกเสียงหัวเราะจากอาจารย์ และเพื่อน ๆ ได้

ประเมินอาจารย์  อาจารย์มีการเตรียมการสอนมาอย่างดี ทำให้การเรียนทั้งด้านวิชาการ และกิจกรรมต่าง ๆ มีความต่อเนื่อง ดึงดูดความสนใจของนักศึกษา รวมทั้งให้คำแนะนำต่าง ๆ ที่นักศึกษาสงสัย ได้เป็นอย่างดี จึงทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่น่าเบื่อ