พุยพุย

วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน 2558 เวลา 13.30-17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

  • เมื่อปั๊มใบมาเรียนเสร็จ อาจารย์ก็พาทำกิจกรรม เล่นเกม เพื่อเตรียมความพร้อม ให้นักศึกษามีความกระตือรือร้น มีสมาธิในการเรียนมากขึ้น หากใครทำผิดกติกาก็ให้ออกมาเต้นหน้าชั้นเรียน



  • จากนั้น อาจารย์ก็เริ่มสอนเนื้อหาใหม่ วันนี้เรียนเรื่อง แนวทางการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ขณะเดียวกัน อาจารย์ก็สอดแทรกความรู้ของนักทฤษฎีต่าง ๆ และแนวคิดของทฤษฎีนั้น ๆ เพื่อเป็นการทบทวนความรู้เดิม 
  • แนวทางการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย มีเนื้อหาพอสังเขป ดังนี้
          -  มุมมองต่อภาษาในการจัดประสบการณ์ ได้แก่ มุมมองด้านโครงสร้าง ด้านหน้าที่ และด้านปฏิสัมพันธ์ของภาษา
          -  การสอนแบบอ่านแจกลูก หรือการอ่านสะกดคำ เช่น หอ-อู-หู, กอ-อา-กา เป็นต้น ซึ่งทำให้รู้ว่า การสอนวิธีนี้ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ ลักษณะการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
          -  การสอนแบบภาษาธรรมชาติ หรือแบบองค์รวม ซึ่งวิธีนี้เป็นการสอนที่ดีที่สุด ได้ผลดีที่สุดสำหรับเด็กปฐมวัย เพราะเด็กจะได้เรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์และการลงมือกระทำ รวมถึงอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่จะส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ไม่เข้มงวดการท่อง สะกด และไม่บังคับให้เด็กเรียนอย่างเดียว ซึ่งอาจารย์ได้มีวิดิโอมาให้นักศึกษาดู เพื่อให้มีความเข้าใจ สามารถมองภาพการเรียนรู้โดยการสอนแบบภาษาธรรมชาติได้มากขึ้น
              


- สิ่งที่สรุปได้จากวิดิโอ -
* การสะกดคำยากสำหรับเด็ก
* การสอนเด็กนั้น ควรมีทั้งภาพและคำ
* ต้องยอมรับในสิ่งที่เด็กพูด อ่าน เขียน
* อย่าคาดหวังว่าเด็กจะมีพัฒนาการเหมือนกัน
* การพัฒนาภาษาแบบธรรมชาติ สามารถบูรณาการได้หลากหลาย
เป็นต้น

  • ในขณะเรียนเนื้อหาวิชาการ อาจารย์ก็มีกิจกรรมให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมอยู่เป็นระยะ ๆ เช่น การร้องเพลง/จับหรือสัมผัสส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ตามเนื้อเพลง, การอ่านคำตามภาพ 






  • การสอนเด็กปฐมวัยแต่ละสถานศึกษา ก็มีความแตกต่างกันไป เช่น บางที่จะสอนเด็กให้คัดพยัญชนะไทยตามลำดับ ตั้งแต่ ก-ฮ หรือ บางที่อาจจะสอนเด็กเขียนตัวอักษรที่ง่าย ๆ ก่อน ค่อยไปเขียนตัวอักษรที่ยากขึ้นตามลำดับ และอาจารย์ก็ยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจมากขึ้น ซึ่งทำให้รู้ว่า การสอนแบบไม่เรียงลำดับ อาจจะง่ายก็จริง แต่จะทำให้เด็กเกิดความสับสนได้



  • นอกจากนั้น ยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้คำพูด หรือภาษาสำหรับคุณครู ในการที่จะพูดกับเด็กปฐมวัย เพื่อให้การสื่อสารมีผลดีมากขึ้น เพราะเด็กปฐมวัยจะชอบคุณครูที่พูดเพราะ และไม่ควรพูดคำว่า "ไม่ หรือ อย่า" กับเด็ก ๆ อาจจะมีวิธีพูดที่ดีกว่าดังภาพตัวอย่าง

บรรยากาศในห้องเรียนวันนี้ :)
  • กิจกรรมสุดท้าย อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคน ออกมาร้องเพลงหน้าชั้นเรียน คนละ 1 เพลง ซึ่งเป็นเพลงที่อาจารย์เคยสอน เพื่อให้นำไปสอนเด็กปฐมวัยในอนาคตได้




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

  • นำคำพูดเชิงบวก หรือภาษาสำหรับครูที่จะใช้กับเด็ก ไปฝึกพูดเพื่อให้เกิดมนุษยสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก
  • สามารถเป็นต้นแบบที่ดีให้แก่เด็กได้ ในการสื่อสารหรือการใช้ภาษาที่ถูกต้อง
  • ในการทำงานทุกครั้ง ครูต้องสามารถเขียนบรรยายใต้ผลงานเด็กได้ โดยคำบรรยายนั้นต้องออกมาจากความคิดหรือคำพูดเด็ก
  • เมื่อรู้ว่า เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน จึงทำให้เป็นความรู้ว่า ควรจัดประสบการณ์ให้เด็กแต่ละคนอย่างไร เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของเด็ก และทำให้เด็กมีพัฒนาการในการเรียน รวมถึงประสบการณ์ต่าง ๆ ได้มากขึ้น
การประเมินผล

ประเมินตนเอง : ตนเองมีความตั้งใจในการเรียนมีความเข้าใจในบทเรียน และกิจกรรมต่าง ๆ ที่อาจารย์มอบหมาย อาจจะล่าช้าบ้าง แต่ก็พยายามพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้น 


ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียน และทำกิจกรรม บรรยากาศการเรียนมีความสนุกสนาน เสียงหัวเราะ และช่วยเหลือกัน ทำให้เรียนอย่างมีความสุข ไม่น่าเบื่อ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีความตรงต่อเวลา เตรียมความพร้อมในการสอนมาดีมาก ทำให้การเรียนและการทำกิจกรรมต่าง ๆ ราบรื่น น่าสนใจ ไม่น่าเบื่อ อาจารย์ใจดี พร้อมให้คำปรึกษา เป็นกันเองกับนักศึกษามาก ๆ ค่ะ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น